วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 11 เรื่อง กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ


ใบงานที่ 11 เรื่อง กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
--------------------------------------------------------------
ให้นักเรียนเรียงลำดับขั้นตอนการทำงาน จากกิจกรรมที่กำหนดให้ต่อไปนี้  (สามารถสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ได้)

1. การสำรวจสภาพน้ำที่คูเมือง
        ขั้นที่ 1   เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในสำรวจ ได้แก่
                        1   เครื่องวัดค่ากรดด่าง
                         2  กล้องถ่ายรูป
        ขั้นที่ 2   เดินทางไปที่คูเมือง ตำแหน่งที่ 1 ด้านทิศเหนือด้วยรถจักรยานยนต์พร้อมเครื่องมือสำรวจ
        ขั้นที่ 3   ใช้ เครื่องวัดค่ากรดด่าง วัดค่า pH ของน้ำ แล้วถ่ายรูปเก็บไว้

2. การทำร่มกระดาษสาที่บ่อสร้าง
        ขั้นที่ 1   เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการทำร่มกระดาษสา ได้แก่
                   1 ไม้ไผ่
                   2 กระดาษสา
                   3 มีด,กรรไกร,คัตเตอร์
                   4 กาว
                    
        ขั้นที่ 2   วิธีทำร่มกระดาษสา
                       1  นำไม้ไผ่มาเหลาแล้วทำเป็นซี่เพื่อทำซี่ร่มและเหลาไม่ไผที่เป็นท่อนยาวมาประกอบกันเป็นโครงร่ม
                    2 ทากาวและเอากระดาษสีขาวบุลงไป         

        ขั้นที่ 3   จากนั้นก็นำมาวาดลวดลายและสีสันบนผืนร่ม ให้สวยงาม
       

3. การทำแซนวิชทูน่า
(ให้นักเรียนกำหนดเอง 1 กิจกรรม)
        ขั้นที่ 1   เตรียมวัตถุดิบในการทำแซนวิชทูน่า
                        1  ทูน่า 1 กระป๋อง         
                        2  เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
                        3  พริกไทยป่น 1/4 ช้อนชา  
                        4 น้ำสลัด 4 ช้อนโต๊ะ
                  5     หอมแดงสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ       
                  6    มะกอกสับ 1 ช้อนโต๊ะ
                  7    พริกหวานสับ 1 ช้อนโต๊ะ   
                  8    แครอทสับ 1 ช้อนโต๊ะ
                  9    ไข่กุ้ง หากต้องการ     
                 10    ขนมปังครัวซอง หรือขนมปังชนิดต่างๆ ตามชอบ

        ขั้นที่ 2   1  นำทูน่าที่เอาน้ำในกระป๋องออกแล้ว ใส่ลงโถปั่น พร้อม เกลือ พริกไท และ น้ำสลัด
                          2  ปั่นด้วยความเร็วสูงสุด จนส่วนผสมทุกอย่างเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน และฟูจนเป็นมูส
                          3  นำมูสทูน่า ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับแครอทสับ พริกหวานสับ หอมแดงสับ แครอทสับ และไข่กุ้ง
        

             ขั้นที่ 3     ตักใส่ภาชนะ และไว้ปาดบนขนมปังเป็นไส้แซนวิช


ใบงานที่ 10 เรื่อง คิดวิเคราะห์สร้างทางเลือก และเกณฑ์ที่ใช้


ใบงานที่ 10 เรื่อง คิดวิเคราะห์สร้างทางเลือก และเกณฑ์ที่ใช้
--------------------------------------------------------------
ให้นักเรียนสร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย โดยเลือกวิธีที่ทำกิจกรรมที่กำหนดให้ต่อไปนี้

ให้นักเรียนเลือกกระบวนการหรือกิจกรรมที่ต้องน่าจะทำได้ เมื่อทำกิจกรรมต่อไปนี้
1. ปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่บ้าน (ต้องตอบให้ครบทุกวิธี)
        วิธีที่ 1 ปลูกในกระถางดินเผา
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้     พื้นที่มีจำกัด
        วิธีที่ 2  ปลูกในกระบะไม้
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้     เป็นไม้ที่สามารถปลูกในกระบะได้
        วิธีที่ 3  ปลูกในร่องสวน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้     ใช้เนื้อที่ในสวนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
        วิธีที่ 4  ปลูกพื้นที่ข้างบ้าน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้     ตกแต่งให้ข้างบน ร่มรื่นสวยงามมากขึ้น
        2. เก็บอาหารให้อยู่ได้นาน ๆ (ต้องตอบให้ครบทุกวิธี)
        วิธีที่ 1  ดองเค็ม
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้  ชอบกินอาหารที่มีรสเค็ม
        วิธีที่ 2   ตากแห้ง
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้  ทำให้แห้งและมีรสชาติอร่อย
        วิธีที่ 3   รมควัน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้   การรมควันทำให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน
        วิธีที่ 4   แช่อิ่ม
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้   ชอบรับประทานของดอง
        3. ตกแต่งห้องเรียนให้สวยงาม (ต้องตอบให้ครบทุกวิธี)
        วิธีที่ 1 บริเวณหน้าห้องเรียน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ เป็นที่วางรองเท้าต่างๆ
        วิธีที่ 2   หน้ากระดาน 
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้  เป็นที่สกปรกไปด้วยสี ชอร์คต่างๆ
        วิธีที่ 3   หลังห้อง
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้  เป็นที่มีขยะมากที่สุด
        วิธีที่ 4    พื้นห้อง
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้  เป็นที่ที่มีนักเรียนเดินมากที่สุด
 4. การทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน
(ข้อนี้ ให้นักเรียนกำหนดกิจกรรมเอง 1 กิจกรรม ต้องตอบให้ครบทุกวิธี )
        วิธีที่ 1 บริเวณหน้าโรงเรียน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้   เป็นที่ที่มีนักเรียนอยู่อยู่มาก
        วิธีที่ 2  บริเวณใต้ตึก
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้   เป็นที่รับประทานอาหารของนักเรียน
        วิธีที่ 3  บริเวณห้องน้ำ
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้   เป็นที่มีคนเข้าออกมากที่สุด และสกปรกที่สุด
        วิธีที่ 4  บริเวณข้างรั้วโรงเรียน
                        เกณฑ์ที่เลือกใช้   นักชอบซ้ออาหารผ่านนอกรั้วโรงเรียน

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ใบงานที่9 เรื่องปัญหาเเละความจำเป็นในการทำโครงงาน


ใบงานที่ 9 เรื่อง ปัญหาและความจำเป็นในการทำโครงงาน
-----------------------------------------------------------------------------
              ให้นักเรียนคิดหาคำตอบว่า เราทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อแก้ปัญหาอะไร ? ได้ประโยชน์อย่างไร ?

กิจกรรมต่อไปนี้ปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาอะไร ? ได้ประโยชน์อย่างไร ?
1. ไปเที่ยวศูนย์การค้า  เพื่อแก้ปัญหา          การเกิดความเครียด ต้องการพักผ่อน และซื้อเครื่องใช้ประจำตัว
                                ได้ประโยชน์ คือ       พื่อขจัดความเครียด ได้พักผ่อนและได้เครื่องใช้ประจำตัว

2. ทำความสะอาดบ้าน เพื่อแก้ปัญหา    เพื่อการรักษาความสะอาดบ้านไม่ให้สกปรก
                                ได้ประโยชน์ คือ        บ้านสะอาดเเละ บ้านดูมีความเป็นระเบียด

3. ดูทีวี                     เพื่อแก้ปัญหา          เพื่อเเก้ไข้การไม่รับรู้ข่าวเท่าทันโลก
                                ได้ประโยชน์ คือ          รับรู้ข่าวสารทันโลก

4. ซื้อจักรยานยนต์  เพื่อแก้ปัญหา         การเดินทางที่ให้ทันเวลา
                                ได้ประโยชน์ คือ       ใช้ในการเดินทางให้ทันเวลา

5. ทำนา                   เพื่อแก้ปัญหา          การขาดเเคลนข้าวกิน
                                ได้ประโยชน์ คือ        ได้ข้าวสารเเละได้รับเงินจากการขายข่าว

6. มาเรียนหนังสือ   เพื่อแก้ปัญหา          การไม่รู้ในสิ่งต่างๆ
                                ได้ประโยชน์ คือ      เพื่อรับรู้นำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพต่อไป

7. ตั้งใจเรียน           เพื่อแก้ปัญหา         การเรียนไม่รู้เรื่อง      
                                ได้ประโยชน์ คือ       เรียนรู้เรื่องเเละเข้าใจในสิ่งที่เรียน

8. เรียนภาษาอังกฤษ เพื่อแก้ปัญหา       การคุยกับชาวต่างชาติ
                                ได้ประโยชน์ คือ         คุยกับชาวต่างชาติรู้เรื่องเเละเข้าใจ

9. เรียนคอมพิวเตอร์  เพื่อแก้ปัญหา      ใช้ไม่เป็นตกโลกไม่ทันยุค
                                ได้ประโยชน์ คือ     ใช้กับการติดต่อสื่อสารกับโลกต่างประเทศได้หรือ บริการต่าง                       

10. สมัครงาน          เพื่อแก้ปัญหา        การไม่มีเงินใช้ เเละสังคม
                                    ได้ประโยชน์ คือ      ได้รับเงินเดือนเเละสวัสดิการของที่ทำงาน




วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”



 ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์


          โครงงานพัฒนาเกม โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้หรือเพื่อความ เพลิดเพลิน เกมที่พัฒนาควรจะเป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจแก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่างๆ



ตัวอย่างโครงงาน


ชื่อโครงงาน โปรแกรมประยุกต์พจนานุกรมสำหรับโทรศัพท์มือถือบนพื้นฐานภาพ ประเภท Mobile Application  ชื่อผู้ทำโครงงาน นาย วรพงศ์ โรจน์เรืองมาศ , นางสาว ศุภิสรา จันทราภิสิทธิ์   ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร. รัชลิดา ลิปิกรณ์  สถาบันการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ระดับชั้น ปริญญาตรี  หมวดวิชา คอมพิวเตอร์  วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน 1/1/2541 บทคัดย่อ โปรแกรม พจนานุกรมสำหรับโทรศัพท์มือถือบนพื้นฐานภาพนี้ ได้ถูกพัฒนามาจากโปรแกรมแบบเดิมที่ผู้ใช้ต้องพิมพ์คำศัพท์โดยกดปุ่มตัวเลข เพื่อหาความหมาย เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกสบายในการใช้งานเพียงแค่ถ่ายภาพคำศัพท์ที่ต้องการ รวมถึงระบบการใช้งานที่เข้าใจง่าย และสามารถใช้งานได้จากที่ใดก็ได้ ทั้งนี้ยังคงมีรูปแบบการพิมพ์คำศัพท์แบบเดิมอยู่

โปรแกรมพจนานุกรมสำหรับโทรศัพท์มือถือบนพื้นฐานภาพ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนของโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ และส่วนเซิร์ฟเวอร์ โดยผู้ใช้สามารถคีย์หรือถ่ายภาพคำศัพท์บนโทรศัพท์มือถือ แล้วส่งคำ หรือภาพถ่ายนั้นผ่านเครือข่าย ไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ โดยให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ทำการวิเคราะห์ภาพคำศัพท์ออกมาเป็นตัวอักษร ด้วยหลักการการประมวลผลภาพ และหาความหมายคำศัพท์นั้นจากฐานข้อมูลคำศัพท์ จากนั้นจึงส่งความหมายของคำศัพท์กลับมายังโทรศัพท์มือถือ

Image-based Mobile Dictionary Application is developed from the original application which users have to type a word to be searched for the meaning. This application is easy to use, a user only need to capture a void using a digital camera on a mobile phone or type it in. In addition, its system also offers user-friendly interfaces which users can easily understand once they have seen it.

Image-based Mobile Dictionary Application consists of two functions; software on a mobile phone and software on a server. A vocabulary, which is typed or captured by users, is automatically sent via network to the server. If the input is an image file, the software on the server will recognize each character using image processing and then search for its meaning from database list. Afterwards, that vocabulary and its meaning will transfered to the mobile phone.


ตัวอย่างโครงงาน 2

ชื่อโครงงาน การพัฒนา software เพื่อใช้ในการอ่าน และ simulate การประยุกต์ใช้ hologram กับบัตรประจำตัว  ชื่อผู้ทำโครงงาน นายดาษพิช ทองนพเนื้อ  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว  สถาบันการศึกษา นิติระดับปริญญาตรีปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ระดับชั้น ปริญญาตรี  หมวดวิชา คอมพิวเตอร์  วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน 1/1/2541 บทคัดย่อ ปัจจุบันได้มีการนำ hologram ไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ มากมาย จึงได้แนวความคิดประยุกต์ laser hologram ในด้านการใช้เป็น memory หรือ data storage เพื่อใช้ในการทำบัตรประจำตัว (ID card) ขึ้น โดยอาศัยลักษณะเด่นของ hologram 360^0c ซึ่งสามารถให้ภาพสามมิติที่มองได้จากทุก ๆ มุมมองโดยรอบ และภาพที่เกิดเป็นแบบ Dynamics เมื่อมีการเปลี่ยนมุมการมอง และตำแหน่ง film ลอดจนลักษณะการปลอมแปลงของ hologram ทำได้ยากจึงนำมาเก็บรักษาความปลอดภัยและความเชื่อถือได้ของบัตร งานวิจัยนี้จึงประกอบด้วยการ

1.ศึกษาและทดลองเกี่ยวกับ hologram 360 เพื่อนำไปประยุกต์สร้างเป็นบัตรประจำตัว
 2.ออกแบบ ทดลอง และพัฒนาการสร้าง hardware ในส่วนของเครื่องสำหรับอ่านและตรวจสอบบัตร
 3.พัฒนา software เพื่อทำงานในด้าน pattern recognition เพื่อการอ่านและยืนยัน ( verify) บัตรสำหรับเครื่องอ่านบัตร ตลอดจนออกแบบระบบpattern สำหรับเก็บข้อมูลบนบัตร ระบบสำหรับการอ่านและพัฒนา software เพื่อทำการ simulate และทดลองการทำงานของระบบ การอ่าน การใช้บัตร การทำงานของเครื่องอ่านบัตรและ software (program) ที่ใช้อ่าน





ตัวอย่างโครงงาน 3

          
            ชื่อโครงงาน Shader 3D เพื่อ การพัฒนาซอฟต์แวร์เกมส์  ชื่อผู้ทำโครงงาน นายกฤชวัฒน์ เวชสาร  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ดร.วิวาราช พรแก้ว สถาบันการศึกษา โรงเรียนเทพศิรินทร์  ระดับชั้น มัธยมปลาย  หมวดวิชา คอมพิวเตอร์  วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน ไม่ระบุ บทคัดย่อ คอมพิวเตอร์กราฟิกได้เข้ามามีบทบาทในงานวิจัยด้านต่าง ๆ กว่า 20 ปี ทั้งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันมีความใกล้ชิด และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากขึ้น เพราะการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกกับสาขาวิชาต่าง ๆ อำนวยให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง แม่นยำ สะดวกและเหมาะสมต่อการนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์ แก้ปัญหา และ/หรือใช้กับงานประยุกต์ที่มีความสลับซับซ้อนมาก ๆ ได้ แต่จำนวนข้อมูลป้อน (Data input) ในการประมวลผล (Process) แปรผันตรงกับจำนวนเวลาที่ใช้ และชุดคำสั่งมักเป็นจำนวนชนิดทศนิยม (float) ซึ่งทำให้มีค่าหน่วงเวลา (latency) ในการทำงานมาก โครงงาน 3D Shader for Game Programming นี้ มุ่งพัฒนาต้นแบบ Mini-3D Graphics Engine สำหรับ การพัฒนาเกมส์ ในส่วนGraphics core โดยอาศัยเทคนิคการ Optimizing code ร่วมกับการวาง Prototyping แบบพิเศษให้เข้ากับ Hardware Functions (Logical Layers)ของ CPU และ Display card ให้การแสดงผลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า เพื่อลด causes of bottlenecks และ penaltiesโดยส่วนของฮาร์ดแวร์ใช้ AMD Processor และ nVidia GeFocre Display card series ส่วนของการ Programming ใช้ OpenGL ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการทดสอบ

                                                        

ตัวอย่างโครงงาน 4

                  
                 ชื่อโครงงาน ศึกษาและพัฒนา Hand - Written OCR  ชื่อผู้ทำโครงงาน นางสาวธัญญพร เรือนโรจน์รุ่ง  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน สถาบันการศึกษา นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีนครสวรรค์  ระดับชั้น มัธยมปลาย  หมวดวิชา คอมพิวเตอร์  วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน1/1/2541 บทคัดย่อ การศึกษารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำ OCR (Optical Character Recognition) และรวบรวมตัวอย่างลายมือจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาศึกษาสภาพปัญหา พบปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาในการตัดตัวอักษร รูปแบบของตัวอักษรที่คล้ายกันมาก เช่น ด-ค-ต , ก-ถ-ภ , ผ-ฝ-พ-ฟ การเขียน ผิดรูปซึ่งมีผลให้ตัวอักษรที่ต่างกันมีลักษณะคล้ายกัน เช่น ย-ผ , ร-ช , พ-ม และความหลากหลายของ ลายมือ ดังนั้นการจะจดจำลักษณะตัวอักษรแต่ละตัวได้ ควรจะเน้นที่การจดจำลักษณะร่วมหรือลักษณะเด่น ของตัวอักษรนั้น จากลายมือที่ต่างกัน โดยการพิจารณาว่าตัวอักษร คือ กราฟที่ประกอบด้วยจุดยอดและขอบที่ลากเชื่อมจุด แล้วแทนอักษรแต่ละตัวด้วยจุด แต่เกิดปัญหาว่าไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ว่า ลักษณะของจุดนั้นจะใช้แทนตัวอักษรตัวใด จึงเพิ่มแฟกเตอร์บางอย่างเข้าไป คือ เพิ่มจำนวนจุดในบริเวณ จุดตัด จุดปลายและจุดสุดขอบด้านต่าง ๆ กำหนดลำดับของจุด อักษรที่คล้ายกันมากและใช้ลักษณะเด่น ของตัวนั้นแทนจุดในบางตำแหน่ง ทำให้ความชัดเจนมากขึ้นและจะได้พิจารณาวิธีการอื่น ๆ เช่น การใช้อัตราส่วนของระยะระหว่างจุด การพิจารณาจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของตัวอักษรในการแบ่งกลุ่มตัวอักษรให้ เหลือตัวที่พิจารณาน้อยลง แต่เนื่องจากตัวอักษรภาษาไทยมีความซับซ้อนและมีรายละเอียดค่อนข้างมาก จึงมุ่งเน้นให้สามารถรู้จำตัวเลข 0-9 ให้ได้ก่อน เพื่อนำไปใช้ในการคัดแยกจดหมาย

เนื่องจากรูปแบบลายมือที่พบบ่อยในการเขียนตัวเลขมีไม่มากนัก เมื่อแทนตัวเลขด้วยจุดที่มีการกำหนดลำดับ พิจารณาจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของตัวเลขแล้ว ก็สามารถแยกความแยกต่างของตัวเลขแต่ละตัวได้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้จะใช้วิธีต่าง ๆ มาประกอบเพื่อเพิ่มความถูกต้อง ได้แก่ การพิจารณาตำแหน่งของจุดโดยให้ความสำคัญกับทิศทางมากกว่าระยะทาง โดยกำหนดทิศทางเพียง 8 ทิศ ถ้ามีทิศต่างไปจากทิศที่กำหนด จะหาว่ามีทิศใกล้เคียงกับทิศใดที่มกที่สุดและกำหนดให้เป็นทิศนั้น พิจารณาจากจำนวนจุดที่ใกล้เคียงกัน และพิจารณาจากลักษณะเด่ของตัวเลข ก็จะเพิ่มความถูกต้องได้ในระดับหนึ่ง

สำหรับปัญหาในการอ่านตัวเลขซึ่งอาจพบได้ เช่น การเขียนตัวเลขสองตัวติดกัน หรือการเขียนตัวเลขตัวเดียวแต่เส้นไม่ต่อเนื่องอาจทำให้เกิดความสับสนได้ และปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเขียนผิดรูปซึ่งทำให้ยากแก่การจำแนกว่าตัวเลขตัวใด ซึ่งยังจะต้องศึกษาและพัฒนาต่อไป

ตัวอย่างโครงงาน 5

             
              ชื่อโครงงาน โครงการโปรแกรมการคำนวณแบบขนานเพื่อการจำลองการเกิดคลื่นสินามิ ประเภทโปรแกรมเพื่องานพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ชื่อผู้ทำโครงงาน นาย อาทิตย์ อินทวี , นางสาว เปรมจิต อภิเมธ๊ธธำารงนาย กิตติพัฒน์ วิโรจน์ศิริ  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา อ.ดร.วีระ เหมืองสิน  สถาบันการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ระดับชั้น ปริญญาตรี  หมวดวิชา คอมพิวเตอร์  วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน1/1/2541 
บทคัดย่อ Tsunami is one of the most serious disasters. To prevent from the loss, an effective
warning system must be established. Nowadays, there is no warning system that is both accurate and fast enough to generate the warning in time, thus false alarms are common. Soon people will ignore the warning, and we may face another tragedy.

There is a program named TUNAMI which can accurately calculate the water level and the speed of tidal wave given initial parameter, but this program is very slow due to a lot of calculation. The parallel tsunami simulation program will be the parallel version of TUNAMI, applying both functional and domain decompositions. This program will be much faster than the original program and will be able to be used in real-time warning system.